About Me

รูปภาพของฉัน
สวัสดีครับ ผมชื่อต้อแต้ ชอบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที เลยอยากแชร์ต่อให้เพื่อนๆครับ ^_^

Connect with Us

Popular Posts

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การใช้ Partition Magic สร้างพาร์ทิชั่น บนฮาร์ตดิสต์ที่ยังไม่มีพาร์ทิชั่น

By 9tortae  |  23:46 No comments


บางครั้งเมื่อเราซื้อฮาร์ทดิสต์มาใหม่ แต่ฮาร์ทดิสต์อาจจะยังไม่ได้มีการสร้างพาร์ทิชั่นเอาไว้เลย เราจึง
ต้องทำการสร้างพาร์ทิชั่นก่อน ซึ่งโปรแกรม Partition Magic จัดได้ว่าเป็นโปรแกรมอันดับต้นๆ ในด้านการจัดการพาร์ทิชั่น เพราะ อยู่ในรูปแบบกราฟิกโหมด และ ใช้งานง่าย

ทำไมจึงควรแบ่งพาร์ทิชั่น

  1. ถ้าเราแยกเก็บข้อมูล และไฟล์ระบบ ไว้คนละพาร์ทิชั่น เมื่อ Windows มีปัญหา เราสามารถฟอร์แมต พาร์ทิชั่นที่เก็บไฟล์ระบบ แล้วทำการติดตั้งใหม่ได้ทันที แต่ถ้าเราเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกับ พาร์ทิชั่นระบบ เราต้องทำการแบ๊คอัพข้อมูลเอาไว้ก่อน ซึ่งถ้าข้อมูลมีมาก ก็คงใช้เวลาพอสมควรเลยทีเดียว
  2. ถ้าระบบพาร์ทิชั่นเป็น FAT32 จะไม่สามารถใช้งานกับพาร์ทิชั่นที่เกิน 127.53 GB ได้ (ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎีจะสามารถใช้กับพาร์ทิชั่นได้ถึง 2 TB ก็ตาม)

การสร้างพาร์ทิชั่น บนฮาร์ตดิสต์ที่ยังไม่มีพาร์ทิชั่น

1. เมื่อเปิดโปรแกรม PartitionMagic ขึ้นมา โปรแกรมจะทำการตรวจสอบว่า เรามีฮาร์ดดิสต์จำนวนเท่าไหร่ มีการแบ่งพาร์ทิชั่นเป็นแบบไหนบ้าง และระบบพาร์ทิชั่นเป็นระบบอะไร เช่น เป็น FAT32, NTFS หรือ Linux เป็นต้น จากรูปจะเห็นว่าเครื่องนี้มีฮาร์ทดิสต์เพียงตัวเดียว และยังไม่มีการสร้างพาร์ทิชั่นไว้เลย


2. คลิกขวาที่คำว่า Unallocated ที่อยู่ในแถบสีเทา แล้วเลือก Create เพื่อเริ่มต้นสร้างพาร์ทิชั่นแรก


3. ที่หน้าต่าง Create Partition ในช่อง Create as ให้ทำการเลือก Primary Partition เพราะนี่เป็นพาร์ทิชั่นแรก ที่เราจะทำการสร้าง

4. ที่ช่อง Partition Type ตรงส่วนนี้จะเป็นการเลือกว่าต้องการพาร์ทิชั่นระบบไหน ซึ่งถ้าเป็นวินโดว์ XP จะสามารถใช้ได้ทั้ง FAT32 และ NTFS แต่ถ้าเป็น Windows 98se หรือ Windowsวินโดว์ ME จะใช้ได้แค่ FAT32 (FAT16 ก็ใช้ได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะเป็นระบบเก่ามากแล้ว) ในที่นี้แนะนำให้เลือกเป็น FAT32 ไว้ก่อน เพราะ Windows XP สามารถแปลง FAT32 เป็น NTFS ได้ แต่ไม่สามารถแปลง NTFS เป็น FAT32 ได้

5. ที่ช่อง Label ช่องนี้จะใช้ในการตั้งชื่อของพาร์ทิชั่น ในที่นี้ตั้งชื่อว่า "Drive-C"

6. ที่ช่อง Size จะใช้ในการกำหนดขนาดของพาร์ทิชั่น ในที่นี้กำหนดเป็น 20,000 MB แต่ถ้าเราต้องการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ได้ โดยไปกำหนดที่ช่อง Percent of unallocated space แทน แล้วโปรแกรมจะคำนวณตัวเลขในช่อง Size ให้เราเอง เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกที่ปุ่ม OK


7. จากรูปจะเห็นว่าไดร์ฟ C มีขนาด 20,002.8 MB แทนที่จะเป็น 20,000 MB ตามที่เรากำหนด ที่เป็นอย่างนี้ เพราะบางครั้งขนาดที่เรากำหนดไม่สามารถทำได้ (จริงๆ แล้วมีสาเหตุมาจากการแบ่งคลัสเตอร์ แต่ถ้าเอามาพูดในที่นี้จะเป็นการนอกเรื่องไป) โปรแกรมจะคำนวณขนาดที่เป็นไปได้ ที่ใกล้เคียงกับที่เราต้องการมากที่สุดให้

8. คลิกขวาที่ Unallocated ในแถบสีเทาที่เหลือ เลือกรายการ Create


9. ที่ช่อง Create as ให้เลือกเป็น Logical Partion 
10. ช่อง Partition Type เป็น FAT32
11. ช่อง Label กำหนดเป็น Drive-D
12. ช่อง Percent of unallocated space กำหนดเป็น 100 เพราะเราต้องการใช้พื้นที่ที่เลือกทั้งหมด เสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม OK


13. ให้คลิกขวาที่ DRIVE-C แล้วเลือกรายการ Advanced -> Set Active... ที่ต้องกำหนด Active ให้ไดร์ฟ C เพราะ เราใช้ไดร์ฟ C เป็นตัวบูตระบบ 


14. โปรแกรมจะให้เราทำการยืนยันอีกครั้งว่าต้องการกำหนด Active ให้กับ ไดร์ฟ C ก็ให้คลิกที่ปุ่ม OK


15. ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการกำหนดพาร์ทิชั่น แต่ตอนนี้ฮาร์ทดิสต์ยังไม่ได้ถูกแบ่งพาร์ทิชั่น ให้เราตรวจสอบความเรียบร้อยซะก่อน ถ้าทุกอย่างถูกต้องก็ให้คลิกที่ปุ่ม Apply ได้เลย ซึ่งถ้าเป็นการแบ่งพาร์ทิชั่นที่เก็บไฟล์ระบบ (ส่วนมากจะเป็นไดร์ฟ C) โดยปกติโปรแกรมมักจะต้องรีบูตก่อนทำการแบ่งพาร์ทิชั่น


16. โปรแกรมจะสรุปให้เราดูว่า การแบ่งพาร์ทิชั่นที่เรากำหนด มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน (จำนวนขั้นตอนการทำงานอาจจะแต่งต่างกันไปบ้าง) ให้เราคลิกที่ปุ่ม Yes เพื่อเริ่มทำการแบ่งพาร์ทิชั่นจริงๆ ซะที

หมายเหตุ
  1. ถ้าเกิดไฟฟ้าดับในระหว่างที่โปรแกรมทำการสร้างพาร์ทิชั่น ควรทำการลบพาร์ทิชั่นเก่าออก และทำการสร้างขึ้นมาใหม่
  2. Windows XP สามารถใช้คำสั่ง convert เพื่อแปลง FAT32 เป็น NTFS ได้โดยไม่ต้องทำการฟอร์แมตใหม่


Credit : http://www.comtrick.com/?gid=Norton&p=PartitionMagicNewDrive

Author: 9tortae

Hello, I am Author, decode to know more: In commodo magna nisl, ac porta turpis blandit quis. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. In commodo magna nisl, ac porta turpis blandit quis. Lorem ipsum dolor sit amet.

0 ความคิดเห็น:

E-mail Newsletter

Sign up now to receive breaking news and to hear what's new with us.

Recent Articles

TOP