มาทำความรู้จักกับซีพียู (CPU) เพื่อการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คคู่ใจ
สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับ ซีพียู ว่ามันทำหน้าที่อะไร หากท่านผู้อ่านคิดจะซื้อ โน๊ตบุ๊ค สักเครื่องหนึ่ง โดยซีพียูนั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญอันดับต้นๆ ที่เราควรรู้ไว้สักนิดว่ามันทำหน้าที่อะไร เพราะซีพียูเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพหรือเป็นหัวใจสำคัญของโน๊ตบุ๊ค เลยก็ว่าได้ และที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้ ซีพียูนั้นมีหลายเทคโนโลยีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ซีพียูประสิทธิภาพสูง ซีพียูสำหรับการใช้งานทั่วๆไป หรือแม้แต่ ซีพียูแบบประหยัดพลังงาน โดยบทความนี้จะทำให้คุณรู้จักกับเจ้าซีพียูมากขึ้น และช่วยในการตัดสินใจว่าคุณต้องการซีพียูแบบไหน? เพื่อใช้งานในด้านใด จะได้ไม่ผิดจุดประสงค์ความต้องการของท่านผู้อ่านครับ นอกจากนี้ทางทีมงานโน๊ตบุ๊คโฟกัสจะแบ่งหมวดซีพียูให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ให้อีกด้วย ลองมาดูกันเลยครับ
ซีพียู ทำหน้าที่อะไร?
CPU (Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลข้อมูล และส่งคำสั่งไปยังส่วนประกอบต่างๆ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูจะเน้นในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ผลิตแต่ละค่าย ก็พยายามพัฒนาให้มีความสามารถที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันซีพียูมีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร คือมีขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพนั้นสูงขึ้น ซึ่งการทำงานของซีพียูนั้น เมื่อท่านผู้อ่านพิมพ์ ตัวอักษรที่คีย์บอร์ด (Input) ก็จะมีการส่งข้อมูลมาที่ซีพียู เพื่อประมวลผลว่าปุ่มที่กดนั้นคืออะไร และซีพียูก็จะส่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วมายังจอภาพ (Output) ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นครับ
ทำความรู้จักกับ ซีพียู จาก Intel และ AMD
อย่างที่รู้กันว่าซีพียู ที่ชาวไทยรู้จักดี ก็คงหนีไม่พ้น ซีพียู จากค่าย อินเทล (Intel) ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และประหยัดพลังงาน โดยจะมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ทุกปี และเมื่อปี 2010 ที่ผ่านมา ทางอินเทล ก็มีการปล่อย ซีพียู Intel Core i ออกมาสู่ตลาด ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีกว่ารุ่นก่อน แถมยังประหยัดไฟมากกว่าเดิม จึงได้ผลตอบรับจากผู้ใช้เป็นอย่างดี และปี 2011 ก็ได้ปล่อย Generation ที่ 2 ของตระกูล Intel Core i ในชื่อว่า Intel Sandy Bridge โดยมีการพัฒนาในเรื่องของการนำเอา ซีพียู กับ การ์ดจอ (ออนบอร์ด) มาอยู่ในชิ้นเดียวกัน ด้วยการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร และผลที่ได้คือ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น กว่าออนบอร์ดแบบเดิมๆหลายเท่าตัว อีกทั้งยังช่วยเรื่องของการประหยัดพลังงานอีกด้วย
สำหรับ ซีพียูจาก AMD ถือเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ Intel ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ซุ่มพัฒนาซีพียูมาโดยตลอด และก็ได้การตอบรับที่ดีไม่แพ้กัน แต่อาจจะไม่ต่อเนื่องเหมือนกับทาง Intel ทำให้ผู้ผลิต โน๊ตบุ๊ค เลือกใช้ซีพียูจาก AMD ในบางรุ่นเท่านั้น แต่หากมองเรื่องที่ประสิทธิภาพ ซีพียู AMD ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า Intel แต่อย่างใดแถมในบางรุ่นยังสูสีกันมาก บอกได้ว่าเบียดกันเข้าโค้งเลยทีเดียว แต่จุดเด่นที่เราเห็นได้ชัดนั่นก็คือ ซีพียูจากทาง AMD ยังมีราคาที่ประหยัดกว่าอีกด้วย เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ทางทีมงานของเราจะทำตารางของซีพียูจาก Intel และ AMD โดยจะเลือกรุ่นที่ยังมีขาย และยังเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันครับ
ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU)
จุดเด่นของซีพียูระดับนี้คือ เน้นในเรื่องความเร็วในการประมวลผล และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงมาก สำหรับใครที่กำลังมากหาโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูระดับสูงอยู่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของซีพียู (ยิ่งมากยิ่งดี) หน่วยความจำของ Cache ยิ่งซีพียูมีหน่วยความจำ แคช มากเท่าไหร่ จะส่งผลให้สามารถเก็บข้อมูลสำรองที่มี่การเรียกใช้บ่อยได้มากขึ้นเท่านั้น สำหรับในส่วนต่อมาคือ FSB (Front Side Bus) คือความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างซีพียูกับชิพเซต ซีพียูที่ความเร็วของ FSB สูง จะช่วยให้การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นแน่นอนว่าความสามารถที่สูงย่อมมากับราคาที่สูงเช่นกัน และอัตราการกินไฟก็สูงตามมาด้วย โดยซีพียูระดับนี้จะเหมาะกับการใช้งานในด้านการประมวลผลที่สูง เช่น เล่นเกมโหดๆ, ตัดต่อ หรือ การทำงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพของซีพียูระดับสูงนั่นเอง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย ว่าปัจจุบันนี้มีซีพียูระดับ High รุ่นไหนน่าสนใจกันบ้าง
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU) ที่น่าสนใจ
ซีพียู ระดับพื้นฐาน (Basic-Level CPU)
ที่มา - notebookfocus.com
ซีพียู ทำหน้าที่อะไร?
ทำความรู้จักกับ ซีพียู จาก Intel และ AMD
ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU)
จุดเด่นของซีพียูระดับนี้คือ เน้นในเรื่องความเร็วในการประมวลผล และประสิทธิภาพการทำงานที่สูงมาก สำหรับใครที่กำลังมากหาโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูระดับสูงอยู่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของซีพียู (ยิ่งมากยิ่งดี) หน่วยความจำของ Cache ยิ่งซีพียูมีหน่วยความจำ แคช มากเท่าไหร่ จะส่งผลให้สามารถเก็บข้อมูลสำรองที่มี่การเรียกใช้บ่อยได้มากขึ้นเท่านั้น สำหรับในส่วนต่อมาคือ FSB (Front Side Bus) คือความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างซีพียูกับชิพเซต ซีพียูที่ความเร็วของ FSB สูง จะช่วยให้การทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นแน่นอนว่าความสามารถที่สูงย่อมมากับราคาที่สูงเช่นกัน และอัตราการกินไฟก็สูงตามมาด้วย โดยซีพียูระดับนี้จะเหมาะกับการใช้งานในด้านการประมวลผลที่สูง เช่น เล่นเกมโหดๆ, ตัดต่อ หรือ การทำงานที่ต้องใช้ประสิทธิภาพของซีพียูระดับสูงนั่นเอง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย ว่าปัจจุบันนี้มีซีพียูระดับ High รุ่นไหนน่าสนใจกันบ้าง
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับสูง (High-Level CPU) ที่น่าสนใจ
ดังรูป จะเห็นได้ว่าซีพียูจาก Intel มาแรงตามคาด แต่ความเร็วของซีพียูจาก AMD จะมีความเร็วสูงที่สุด
แน่นอนว่า อันดับ และ คะแนน ที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมด้วยครับ
แน่นอนว่า อันดับ และ คะแนน ที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมด้วยครับ
ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับสูง
ซีพียู ระดับกลาง (Medium-Level CPU)
สำหรับประสิทธิภาพของซีพียูในระดับนี้ จะต่ำลงกว่าระดับบนอยู่พอสมควร สิ่งที่ควรคำนึงถึงก็ไม่ต่างจากกันเท่าไหร่นัก แต่ราคาถูกลง และมีอัตราการกินไฟอยู่ที่ 30-35 วัตต์ ต่อชั่วโมง เหมาะกับการใช้งานระดับกลางๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมระดับกลางๆ ท่องเว็บไซต์ พิมพ์งานเอกสาร ก็สามารถทำได้อย่างไหลลื่น ไปดูกันดีกว่าว่าซีพียูในระดับนี่มีรุ่นอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับกลาง (Medium-Level CPU) ที่น่าสนใจ
สำหรับซีพียูระดับนี้ AMD มาแซงโค้งเลย ถึงแม้ความเร็วจะไม่ได้สูงสุดแต่
คะแนนจากโปรแกรมทั้ง 2 โปรแกรม ได้เป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว
คะแนนจากโปรแกรมทั้ง 2 โปรแกรม ได้เป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว
ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับกลาง
ซีพียู ระดับพื้นฐาน (Basic-Level CPU)
สำหรับซีพียูในระดับนี้ จะเป็นซีพียูสำหรับการใช้งานทั่วไป ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ซีพียูในการประมวลผลสูงมากได้ เนื่องจากถูกปรับลดระดับ ของ Cache และ FSB เพื่อให้สามารถจำหน่ายในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป อัตราการกินไฟก็ไม่มากนัก แต่ประสิทธิภาพของซีพียูใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย อย่าเข้าใจผิดนะครับ เรื่องของการใช้งานทั่วไปนั้น ทำได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ดูหนัง ฟังเพลง พิมพ์งานเอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต ก็ยังสามารถทำได้อยู่ แต่อาจจะไม่เทียบเท่ารุ่นสูงๆเท่านั้นเอง เหมาะกับการใช้งานเบาๆ มากกว่า ไม่เหมาะกับการใช้งานมากนัก สำหรับซีพียูระดับนี้มีรุ่นไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันดีกว่าครับ
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ระดับพื้นฐาน (Basic-Level CPU) ที่น่าสนใจ
สำหรับ ซีพียูระดับนี้ Intel ได้ที่หนึ่งครับ ด้วยหน่วยความจำ Cache มากที่สุด เวลาใช้งานจริง
จะทำออกมาได้ดีกว่าอย่างแน่นอน ถึงแม้ความเร็วจะน้อยกว่าก็ตาม
จะทำออกมาได้ดีกว่าอย่างแน่นอน ถึงแม้ความเร็วจะน้อยกว่าก็ตาม
ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูระดับพื้นฐาน
ซีพียู สำหรับ เน็ตบุ๊ค (Netbook CPU)
สำหรับซีพียูในระดับนี้ จะมีจุดเด่นในเรื่องการกินไฟที่น้อยกว่า ซีพียูรุ่นแรงๆเกือบ 10 เท่าเลยทีเดียว ถึงแม้ความเร็วของซีพียูจะไม่มากนักแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไปได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของซีพียูในระดับนี้ คงไม่สามารถนำไปใช้งานเทียบเท่ากับรุ่นสูงๆ ได้อย่างแน่นอน จึงไม่เหมาะกับการนำไป เล่นเกม หรือการประมวลผลที่สูงมาก แต่จะเหมาะกับการใช้งานเบาๆ เช่น พิมพ์เอกสาร ท่องอินเทอร์เน็ต เล่นเกมบนเว็บไซต์ สามารถ ทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ไปดูกันดีกว่าครับว่า ซีพีรุ่นเล็กนี้มีรุ่นไหนเด่นๆ ในขณะนี้บ้าง
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู สำหรับ เน็ตบุ๊ค (Netbook CPU) ที่น่าสนใจ
สำหรับในรุ่นเล็กนี้ AMD ก็ไล่จี้ Intel มาติดๆเลยครับ ถึงแม้คะแนนที่ได้ออกมาจะแตกต่างกัน
เวลาใช้งานจริงๆ ของเน็ตบุ๊ค ก็ไม่ค่อยจะเห็นผลเท่าไหร่นัก (เพราะเน็ตบุ๊ค เน้นเรื่องการพกพาสะดวก)
เวลาใช้งานจริงๆ ของเน็ตบุ๊ค ก็ไม่ค่อยจะเห็นผลเท่าไหร่นัก (เพราะเน็ตบุ๊ค เน้นเรื่องการพกพาสะดวก)
ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูสำหรับเน็ตบุ๊ค
ซีพียู ประหยัดพลังงาน (Energy Saving CPU)
ในส่วนของซีพียูในระดับนี้ จะโดดเด่นในเรื่องของการประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ โดยจะมีอัตราการกินไฟไม่เกิน 11 วัตต์ ต่อชั่วโมง บวกลบนิดหน่อย ซึ่งจะมีความเร็วของซีพียูอยู่ที่ 1.20GHz สูงสุดไม่เกิน 2.13GHzและจะพบได้เฉพาะ โน๊ตบุ๊คขนาดเล็ก หรือ โน๊ตบุ๊คบางเบาเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับนักธุรกิจที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อนำเสนองาน หรือ ติดต่อลูกค้า ที่จำเป็นต้องใช้ โน๊ตบุ๊ค ประหยัดแบตเตอรี่นั่นเอง สำหรับซีพียูเด่นๆในรุ่นนี้ มีอะไรบ้างไปดูกันครับ
ตารางแสดงรายการของ ซีพียู ประหยัดพลังงาน (Energy Saving CPU) ที่น่าสนใจ
จากรูป จะเห็นว่าคะแนนของ Intel จะดีกว่าค่อนข้างเยอะ ไม่เพียงแค่คะแนนเท่านั้น
ในเรื่องของการประหยัดพลังงานแล้ว ทาง Intel ก็ทำได้ดีกว่าอีกด้วย
ในเรื่องของการประหยัดพลังงานแล้ว ทาง Intel ก็ทำได้ดีกว่าอีกด้วย
ตัวอย่าง Spec เครื่องซีพียูประหยัดพลังงาน
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความการแนะนำซีพียู ทางทีมงานหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ โดยคะแนนที่ได้มานั้นเป็นคะแนนที่ได้มาจริง ไม่ได้กำหนดขึ้นมาเองครับ บางท่านที่อ่านแล้วอาจจะงงว่าทำไมบางรุ่น ความเร็วสูงกว่า คะแนนทดสอบดีกว่า แต่ไม่ได้เป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเวลาใช้งานจริง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปัจจัยหลายๆอย่างครับ ถึงคะแนนที่ได้จะสูง แต่การใช้งานจริงไม่นิ่งและเนียนพอ คะแนนที่ได้ก็หมดความหมายนั่นเองครับ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ว่าเลือกซีพียูมาใช้งานได้ถูกตามจุดประสงค์หรือไม่ และซีพียูที่เลือกมานั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานของท่านอย่างที่ใจต้องการ สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณ แฟนๆโน๊ตบุ๊คโฟกัสทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราทุกวัน สำหรับความผิดพลาดประการใดๆ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ที่มา - notebookfocus.com
0 ความคิดเห็น: